ดูชัดๆ เบื้องหลังการผลิตกระเป๋าสตางค์ ONI x VANITAS

คุณยังจำ กระเป๋าสตางค์ Vanitas x Denimio Ego เมื่อปีก่อนได้มั้ย? ใช่ ไอเท็มสุดโดดเด่นที่ Mike แห่ง Indigoshrimp ได้เคยแชร์เรื่องราวแจ่มๆ ไว้ สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้ยินหรือยังไม่เคยเห็นหน้าตาของไอเท็มชิ้นนี้ เราจะพาไปดูพร้อมๆ กันที่นี่

เมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว Denimio ได้เปิดตัว กระเป๋าสตางค์ ONI x VANITAS ได้กลายเป็นหนึ่งในไอเท็ม Talk of the town ซึ่งเราก็เชื่อแน่ว่าต้องมีแฟนๆ หลายคนที่สงสัยถึงวิธีการผลิตไอเท็มชิ้นนี้ ถ้างั้นตามมาดูที่นี่เลย

ใครคือ VANITAS?

VANITAS คือชื่อของงานศิลปะของยุโรปเหนือในยุคศตวรรษที่ 16 และ 17 ช่วงเวลาที่หัวกะโหลกถูกวาดให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย กุหลาบและต้นไม้เป็นตัวแทนของหญิงสาวและชีวิต ในขณะที่ความมั่งคั่งและพละกำลังถือเป็นความยะโสที่ไม่ยั่งยืน Mr.Matsumura ศิลปินเครื่องหนังชาวญี่ปุ่นได้แสดงออกถึงสิ่งเหล่านี้ผ่านเครื่องหนัง อย่างพวกกระเป๋าสตางค์และกระเป๋า ด้วยการผลิตไอเท็มให้เต็มไปด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ ภายใต้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ และนี่คือเรื่องราวของแบรนด์”VANITAS“.


กระเป๋าสตางค์ ONI x VANITAS

ก่อนอื่น ตามมาดูหน้าตาของไอเท็มชิ้นนี้กันแบบใกล้ๆ ชัดๆ อีกครั้ง

VANITAS X DENIMIO COLLABORATION AIZUMI MID WALLET

ฟีเจอร์
– หนัง Himeji vege-tan ย้อมดำด้วยเทคนิค “Cha-shin”
– ผ้าซับใน Oni Aizumi
– ช่องสำหรับใส่เหรียญที่สามารถใส่การ์ดด้านใน
– ช่องใส่เหรียญทั้งหมด 6 ช่อง พร้อมช่องซ่อนขนาดใหญ่อีก 1 ช่อง
– เย็บด้วยมือทั้งหมด
– งานฝีมือที่ผลิตในญี่ปุ่น

ขนาด
10.0 x 15.0 x 3.0 ซม. [ 3.94 x 5.90 x1.18 inches] Coin pocket: 7.0 x 10.3 ซม. [ 2.75 x 4.05 inches]

งานคอลแลปฯ ระหว่าง ONI DENIM และ VANITAS ซึ่งชิ้นงานนี้ถือเป็น “แรร์ x แรร์” โดยมีวัตถุดิบไฮไลท์คือ ผ้าเดนิม ONI AIZUMI เดนิมไอคอนชื่อดังที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ ทั่วโลก และต่อจากนี้เราจะพาคุณไปดูเบื้องหลังการผลิตของสุดยอดไอเท็มชิ้นนี้กัน


วิธีการผลิตกระเป๋าสตางค์ ONI x VANITAS

ด้านล่างนี้คือคำอธิบายขั้นตอน โดย Mr. Matsumura ผู้ดีไซน์กระเป๋าสตางค์ พร้อมแล้ว? ไปดูพร้อมๆ กัน

1. ผมวาด ONI ไอคอน SECRET DENIM บนหนัง

01.jpg

2. และนี่คือภาพที่ได้หลังจากการแกะเส้น

02.jpg

3. ผมตัดแผ่นหนังเฉพาะในช่วงที่ต้องการเน้น โดยใช้มีด swabber

03.jpg

4. นี่คือภาพที่ได้หลังจากการตัด.

04.jpg

5. ผมใช้เครื่องมือหลายชิ้น (ที่เรียกว่า Mule Foot) เพื่อแกะให้บางจุดมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

05.jpg

6. ผมสแตมป์ตามเส้นโดยใช้เครื่องมือทางเทคนิคที่เรียกว่า Bevelers

06.jpg

7. หลังจากที่แกะเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1 ชั้น ผมวาดพื้นอีกชั้นเพื่อเสริมพื้นของหนัง

07.jpg

8. ผมตัดตามรอยที่วาดไว้

08.jpg

9. ผมปรับความหนาของแต่ละส่วนด้วยการตัด พร้อมๆ กับนึกถึงและพยามทำให้ได้ภาพในมุมสามมิติ

09.jpg

 

10. นี่คือชิ้นส่วนทั้ง 20 ชื้น

10.jpg

 

11. ในขณะที่ประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ผมก็ปรับความสูงไปด้วย

11.jpg

12. ผมตะไบตรงช่วงขอบ เพิ่มความหนาให้ช่วงกล้ามเนื้อใบหน้า และแต่งมุมให้ได้องศาที่เหมาะสม รวมทั้งตกแต่งให้เส้นผมดูพลิ้วและมีการเคลื่อนไหว

12.jpg

13. นี่คือผลลัพธ์ของภาพวาดออริจินัล เทียบกับงานบนแผ่นหนัง

13.jpg

14. ผมวางพื้นที่ทำจากหนังตรงด้านหลังของตัวกระเป๋า จัดให้ได้ตามรูปแบบสามมิติ ซึ่งในช่วงนี้หากตำแหน่งและความสูง ไม่ได้สัดส่วนที่พอดี หน้าจะเบี้ยวและทำให้งานออกมาไม่สวย

14.jpg

15. ช่วงนี้คือช่วงที่สำคัญ ผมใช้อุปกรณ์ตกแต่งรายละเอียดที่โดยปกติแล้วมักใช้กันในงานรูปปั้น

16. เพื่อเพิ่มความดันในการดูดซึมและย้อมให้ได้ผลดี ผมเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผ่นหนัง

16.jpg

17. ผมย้อมด้วยการระบายสีดำ แต่หนังมีปฏิกิริยาให้สีออกมาเป็นสีออริจินัลตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงสามารถเป็นได้ทั้งน้ำตาล, น้ำตาลเข้ม หรือแม้กระทั่งสีดำ ผมทำขั้นตอนนี้ซ้ำๆ หลายครั้ง

17.jpg

18. นี่คือผลลัพธ์หลังจากย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตรงสีดำที่เห็น จริงๆ แล้วเป็นสีน้ำตาลเข้ม

18.jpg

19. เมื่อหนังแห้งพอสมควรแล้ว ผมย้อมสีดำ โค้ทเพิ่มอีกหลายครั้งจนกระทั่งเห็นว่างานสวย โดยสีที่ย้อมลงไปนั้นจะไม่ซึมลงเนื้องาน แต่จะอยู่บนพื้นผิวของหนังและหลุดออกไปเมื่อทำการขัด ซึ่งหากคุณขัดแรง ช่วงใบหน้าจะเป็นรอยขีดข่วนและไม่สวย เช่นเดียวกันกับยีนส์ ที่ควรให้สีเฟดออกตามธรรมชาติ

19.jpg

20. เมื่อแห้งสนิทแล้ว ผมตัดกระเป๋าสตางค์ให้ได้ขนาด แล้วเย็บเข้ากับผ้า AIZUMI

20.jpg


งานเย็บมือ

ไอเท็มชิ้นนี้เป็นงานเย็บมือ 100% โดยเทคนิคการผลิตชิ้นต่อชิ้นนี้เรียกว่COUSU SELLIER ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกันกับที่Hermesใช้

ตามจริงแล้วนี่ถือเป็น เทคนิคการเย็บมือด้วยมือขั้นสูง ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้สิ่งของชิ้นนั้นๆ มีความคงทน

การเย็บมือ เมื่อเปรียบเทียบกับงานเย็บด้วยเครื่องจักรแล้ว ต้องใช้ทั้ง เวลา, ความอดทน และความถูกต้องของทักษะทางเทคนิค เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ต้นทุนมีราคาสูง ในขณะที่เครื่องหนังทั่วไปในตลาดราคาต่ำกว่าเพราะเย็บด้วยเครื่องจักร

ข้อดีของงานเย็บมือก็คือความสวยงาม และฝีเข็มที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเหล่านี้ไม่สามารถหาได้จากสินค้าอุตสาหกรรม และนอกจากนี้ยังมีความคงทนและแข็งแรง ที่ถึงแม้จะมีด้ายหลุดออกมาหนึ่งเส้น แต่การเย็บด้วยมือจะช่วยพยุงไม่ให้เส้นอื่นๆ หลุดออกมาตามๆ กัน ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นงานที่สามารถซ่อมได้ เหมาะมากสำหรับคนที่ชื่นชอบและต้องการใช้งานไอเท็มชิ้นเดียวแบบยาวๆ


สรุป

นี่คือขั้นตอนการผลิต กระเป๋าสตางค์ ONI x VANITAS collaboration ที่ทำให้คุณเห็นถึงความประณีต ความตั้งใจและวิสัยทัศน์ของแบรนด์ อัพเกรดและเพิ่มคุณค่าให้กับแฟชั่นของคุณด้วยการเลือกงานคราฟท์ของแท้ เรารับรองว่าคุณจะรู้สึกแตกต่างอย่างยอดเยี่ยมอย่างแน่นอน