คู่มือทีเด็ดสำหรับเสื้อยีนส์

 

สำหรับนักเลงยีนส์หลายๆท่าน แจ็คเก็ตยีนส์ก็เป็นเหมือนสิ่งที่เย็บติดอยู่กับเสื้อผ้าเช่นเดียวกับกางเกงยีนส์นั่นแหละ

ในมุมมองทั่วๆไปของชีวิตประจำวันเอง พวกเราทุกคนย่อมจะต้องมีบางอย่างที่จะสามารถปกป้องพวกเราเองจากลมหนาว สภาพอากาศประเภทต่างๆ (สำหรับคนไทยอาจจะเป็นแดดจัดๆ) เสื้อยีนส์เองก็เป็นคำตอบที่ดีเยี่ยมสำหรับประเด็นนี้

หากมองในมุมอื่นๆเช่นงานศิลปะ เสื้อยีนส์เองก็สามารถมีรอยเฟดเช่นเดียวกันกับกางเกงยีนส์ตัวโปรดของท่าน หลังจากการสวมใส่เสื้อยีนส์สีครามที่แข็งโป๊กตัวนั้นที่แขนเสื้อนั้นแข็งเพราะแป้งที่ฉาบอยู่บนผ้า ท่านจะสามารถรับทราบได้จากกิจกรรมโปรดประจำวันของท่านนั้นทำให้แขนเสื้อเกิดรอยเฟดอย่างสวยงาม และสิ่งที่ท่านใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อยีนส์ก็จะทิ้งร่องรอยเอาไว้เหมือนกับรอยนิ้วมือยังไงอย่างงั้น

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เสื้อยีนส์เป็นที่ดึงดูดในแบบของมันเองก็คือประวัติของมันนั่นแหละ เกิดขึ้นเมื่อตอนเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 และเริ่มโดยการเป็นเสื้อผ้ามาตรฐานในชีวิตประจำวันของการทำงานหนักหน่วง เสื้อยีนส์เปลี่ยนไปเมื่อได้มีรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมซึ่งในจำนวนนี้น่าสนใจไม่น้อยเลย รายละเอียดที่ว่านี่ได้ถูกใส่เข้าไปอีกเป็นสิบๆปีโดยผู้ผลิตจากญี่ปุ่น

เรามาดูเสื้อยีนส์แต่ละรูปแบบและลักษณะเฉพาะตัวของมันกันดีกว่า

 

Type I (แบบแรก)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นี่เป็นรูปแบบของเสื้อยีนส์รุ่นแรกซึ่งถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี 1905 โดย “ลีวาย” นั่นเอง ผลิตจากผ้ายีนส์น้ำหนักเบา 9 ออนซ์ ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น (ช่วงปี 1930) ก็ได้นำผ้ายีนส์น้ำหนัก 12 ออนซ์มาใช้ ภายหลังได้ใส่แท็บสีแดงบริเวณกระเป๋าเสื้อ และเสื้อยีนส์เองได้ให้ชื่อรุ่นว่า 506XX เสื้อยีนส์นี้มีสไตล์พิเศษของตัวเอง ไม่ได้จำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย ตั้งแต่เสื้อยีนส์นี้มีสำหรับการทำงานแล้ว ไม่มีใครพูดถึงการสวมใส่ให้ถูกขนาด ข้างๆแถบกระดุมนั้นก็เป็นพิเศษให้ติดกับรอยพับแนวยาวนั่นแหละ ถ้าเสื้อยีนส์คับเกินไป ก็สามารถใช้วิธีแกะกระดุมเพื่อให้ความเคลื่อนไหวที่คล่องตัวเพิ่มขึ้นกับท่านได้

มีกระเป๋าเสื้อเพียงอันเดียวที่ถูกติดอยู่บนเสื้อรุ่นนี้

เสื้อยีนส์ด้านหลังเองจะมีสายรัดติดอยู่ซึ่งมีไว้สำหรับการขยับขนาดที่สามารถทำได้ง่ายๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ต้องบอกด้วยว่าเสื้อยีนส์รุ่นนี้นั้นสั้น มันเป็นหนึ่งในเสื้อผ้าสำหรับทำงานที่เป็นผ้ายีนส์ ซึ่งจะค่อนข้างอยู่ด้านบนสุด เสื้อยีนส์นี้จะลอยอยู่เหนือกระเป๋าหลังกางเกงยีนส์อันจะเป็นการเพิ่มความคล่องแคล่วและง่ายกว่าสำหรับผู้สวมใส่

 

เรามาดูตัวอย่างของเสื้อยีนส์เหล่านั้นที่มีให้ท่านเลือกสรรค์กันดีกว่า (กำลังลดราคาด้วยนะ!)

 

TCB 30’S Jacket

TCB JEANS TCB30SJKT TCB 30’S JK

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บริษัทเล็กๆ TCB Jeans ผลิตสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่จากญี่ปุ่น และมีความพยายามที่จะสร้างขึ้นมาให้เหมือนกับของเดิมมากที่สุด เช่นเดียวกับเสื้อยีนส์ 506XX ก็ถูกสร้างขึ้นอีกครั้งโดย TCB

 

เราจะเห็นการตัดเย็บและรอยพับแนวยาว และสายรัดด้านหลัง ซึ่งสำหรับเสื้อยีนส์ Type 1 นั้นจำเป็นจะต้องมีกระเป๋าเสื้อ 1 ข้าง รุ่นนี้ใช้ผ้ายีนส์จากสหรัฐอเมริกาด้วยน้ำหนัก 12.5 ออนซ์จากเมืองเมมฟิส

 

FULL COUNT
2107 FLAP POCKET 1ST MODEL DENIM JACKET

FULL COUNT
2107 FLAP POCKET 1ST MODEL DENIM JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บริษัท Full Count เองก็กำลังนำเสนอแนวคิดของอเมริกันคลาสสิคของช่วงทศวรรษที่ 30 เช่นกัน เสื้อยีนส์นี่ทำจากประวัติของมันและมีรูปทรงสำหรับทำงาน แล้วก็พวกรายละเอียดที่จำเป็นของ Type 1 ทั้งหมด อย่างไรก็ตามผ้ารุ่นนี้นั้นมีน้ำหนัก 13.75 ออนซ์ซึ่งผลิตจากฝ้ายใยยาวจากประเทศซิมบัปเวย์ เสื้อยีนส์รุ่นนี้จะอ่อนนุ่มและสวมสบายมากๆ

 

MOMOTARO JEANS
1105SP 15.7OZ 1ST TYPE CINCH BACK JACKET

MOMOTARO JEANS 1105SP 15.7OZ 1ST TYPE CINCH BACK JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นี่เป็นเสื้อยีนส์อีกเวอร์ชั่นของ Momotaro เสื้อยีนส์ตัวนี้จะมีรายละเอียดดั้งเดิมของรุ่น 506XX ทั้งหมด แต่ตัวผ้ายีนส์นั้นจะมีความหนาแน่นมากกว่าตัวดั้งเดิม น้ำหนักอยู่ที่ 15.7 ออนซ์ นอกจากนี้เจ้าเสื้อยีนส์ตัวนี้จะยังมีอุปกรณ์ที่สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นรุ่น GTB series และแท็บบนกระเป๋าเสื้อที่เป็นรูปลูกท้อ และลายแทบธงของ Momotaro ที่แขนเสื้อ

 

BURGUS PLUS
71928-XX LOT.71928 NATURAL INDIGO SELVEDGE 1ST TYPE DENIM JACKET ( ONE WASHED)

BURGUS PLUS
71928-XX LOT.71928 NATURAL INDIGO SELVEDGE 1ST TYPE DENIM JACKET (ONE WASHED)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ Type 1 จาก Burgus Plus รายละเอียดหลักของเสื้อยีนส์รุ่นนี้คือด้ายนั้นถูกย้อมด้วยสีครามจากธรรมชาติโดยสะกัดจากต้นคราม

Type II (แบบที่ 2)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เสื้อยีนส์รุ่นนี้ก็ถูกสร้างโดย ลีวาย เช่นกันเมื่อปี ค.ศ. 1953 เมื่อช่วงทศวรรษที่ 50 เอง เสื้อผ้าแบบ Gin Clothing ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเสื้อยีนส์แบบดังกล่าวก็ถูกใช้มากมาย ไม่ใช่แค่สำหรับการทำงานเท่านั้น แต่สำหรับเป็นเสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย รุ่นนี้ถูกเรียกว่า 507XX

ดีไซน์เองถูกเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามการเวลา การเย็บบริเวณกระดุมตรงกลางยังคงอยู่ (แต่ตอนนี้มีกระเป๋าเสื้อสองข้างแล้ว) กระเป๋าเสื้อขนาดใหญ่ก็มีขนาดใหญ่พอและอยู่ในตำแหน่งที่กำลังดี บริเวณกลางตัวเสื้อพอดีนั่นเอง สายรัดด้านหลังถูกเอาออกไปและบริเวณกระดุมข้อมือที่ยาวไปที่แขนเสื้อมีการใส่หมุดทองแดงไว้เพื่อความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้น Type 2 เองได้รับความนิยมเป็นที่สุดในบรรดาผู้ผลิตจากญี่ปุ่น เสื้อยีนส์รุ่นนี้คือทุกอย่าง ทั้งคุณลักษณะ ความสะดวกสบาย และสไตล์

เรามาดูเสื้อยีนส์รุ่นนี้จาก Denimio กันดีกว่า

TCB 50’S JEAN JACKET

TCB JEANS
TCB 50’S JEAN JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อีกครั้งหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีความสนใจในประวัติความเป็นมาเป็นตัวอย่างเริ่มแรก Type 2 จาก TCB จะเป็นสิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุด นี่คือสิ่งที่สำคัญทั้งหมดที่จะต้องมี: กระเป๋าเสื้อขนาดใหญ่สองจุด รอยพับใกล้บริเวณหัวเข็มขัด และแม้กระทั่งแท็บแดงบริเวณกระเป๋าหน้าอกเสื้อบ่งบอกถึงความเป็นลีวายดั้งเดิม สำหรับกระบวนการผลิตเสื้อยีนส์ตัวนี้ เครื่องเย็บแบบโบราณถูกใช้เช่นเดียวกับในยุคทศวรรษที่ 50 ผ้ายีนส์มีความหนาแน่นที่ 13.5 ออนซ์ และเป็นฝ้ายใยยาวจากประเทศซิมบัปเวย์

 

MOMOTARO JEANS
MJ2103 14.7OZ DOUBLE POCKET JACKET

MOMOTARO JEANS MJ2103 14.7OZ DOUBLE POCKET JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รุ่นที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเสื้อยีนส์ประเภทนี้คือเสื้อยีนส์จาก Momotaro Jeans การตัดเย็บของรุ่นนี้นั้นจะดูโมเดิร์นกว่า ออกแบบมาสำหรับความแข็งแกร่งที่มากกว่าซึ่งเป็นคนละเรื่องกันกับ  Type 2 ดั้งเดิม เสื้อยีนส์ออกมาพร้อมกับ Cooper Label series ด้วยฝ้ายจากประเทศซิมบัปเวย์เช่นเดียวกันแต่ในน้ำหนัก 14.5 ออนซ์ กระเป๋าของเสื้อยีนส์นั้นถูกตัดเย็บด้วยสีครามที่สวยงาม และกระดุมมาในแบบทองแดงซึ่งด้านหน้าจะมีรูปลูกท้ออยู่ด้วย

 

ONI DENIM
02517GCKHN 16OZ GREEN CAST KIHANNEN 2ND TYPE DENIM JACKET

ONI DENIM
02517GCKHN 16OZ GREEN CAST KIHANNEN 2ND TYPE DENIM JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Type 2 จาก Oni denim นั้นทำจากผ้ายีนส์ Kihannen น้ำหนัก 16 ออนซ์ เสื้อยีนส์รุ่นนี้นั้นไม่เหมือนใครด้วยโทนสีออกเขียวที่สวยงาม และการเฟดแบบคอนทราสสูงที่สวยงามก็ต้องขอบคุณวัสดุสุดพิเศษนี้เช่นกัน เนื้อผ้ารุ่นนี้เองนั้นทำโดยริ้วแนวตั้ง ที่ได้ถูกวางอยู่อย่างสวยงาม กระดุมถูกผลิตเป็นสีดำทั้งหมดเช่นเดียวกับกางเกงยีนส์ Kihannen series

 

Type III (แบบที่ 3)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เสื้อยีนส์เวอร์ชั่นสุดท้ายนั้นถูกออกแบบมาให้พลขับรถบรรทุก ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Trucker jacket เสื้อยีนส์นี้ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1962 ครอยนั้นมีความหนาแน่นมากกว่า ประกอบกับเส้นบริเวณไหล่ รอยพับตามแนวยาวที่ใกล้กับบริเวณข้อมือกลายเป็นอดีตไปแล้ว กระเป๋าเสื้อจะเล็กลงและสไตล์และดีไซน์ก็ถูกเปลี่ยนไป (ต่างจากแบบปะ กระเป๋าแบบเจาะถูกใช้ในปัจจุบัน) เส้นแนวยาวสองเส้นวิ่งผ่านบริเวณกระเป๋าเสื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในโครงสร้าง ด้านหลังเองก็เช่นเดียวกัน ไม่มีรอยพับและตะเข็บสองข้างที่ถูกติดในแนวตั้งแล้ว มันกลายเป็นความทรงจำอันสวยงาม – สไตล์แบบนี้เองทำให้ทันทีที่ออกมาเสื้อยีนส์รุ่นนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนถึงทุกวันนี้ โปรดทราบว่าเสื้อยีนส์ Type 3 แบบดั้งเดิมนั้นกระเป๋าเสื้อไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมากต่างจากปัจจุบัน

.

ในวิธีเดียวกันหรือต่างกัน ผู้ผลิตหลายรายก็พยายามจะผลิตเสื้อยีนส์นี้ในคอลเลคชั่นของตัวเอง หากไม่มีรุ่นนี้ ประวัติศาสตร์ก็คงจะไม่สมบูรณ์

TCB 60’S TRUCKER JACKET

TCB JEANS
TCB 60’S TRUCKER JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หากมองโดนภาพรวมและพิจารณาเสื้อยีนส์ที่ตัดแบบ Type 3 เราจะเห็นได้ว่า TCB เองพยายามจะติดกับประวัติความเป็นมาอย่างใกล้เคียงที่สุด ผ้ายีนส์ในสีที่อ่านกว่าเล็กน้อย ที่เป็นรูปแบบปกติของยีนส์ในช่วงทศวรรษที่ 60 เสื้อยีนส์จะมีกระเป๋าที่หน้าอกเสื้อเล็กๆกับแท็บสีแดง กระดุมทองแดง และป้ายหนังที่ทำจากกระดาษพิมพ์ นั่นแหละ รายละเอียดที่ถูกทำขึ้นโดยใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

BURGUS PLUS
71955-XX 14.5OZ NATURAL INDIAN INDIGO DENIM JACKET

BURGUS PLUS
71955-XX 14.5OZ NATURAL INDIAN INDIGO DENIM JACKET

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Type 3 จาก Burgus Plus ที่นี่ผู้ผลิตเองได้มีมุมมองส่วนตัวของหัวข้อภายใต้ความคลาสสิค กระดุมใช้รูปแบบกระดุมโดนัท ซึ่งตั้งแต่เป็นช่วงเวลาที่ Type 3 กลายเป็นประวัติศาสตร์ อย่างไรก็แล้วแต่ ผู้ผลิตรายนี้ชอบที่จะใช้พวกมันเพื่อที่จะใช้สีของมันในเสื้อยีนส์ของเขา น้ำหนักผ้าอยู่ที่ 14.5 ออนซ์ และแน่นอน เราจะเห็นสีของด้ายย้อมสีด้วยครามจากธรรมชาติ

FOB FACTORY
F2309 SELVEDGE STRETCH DENIM 3RD TYPE JACKET (WASH)

FOB FACTORY
F2309 SELVEDGE STRETCH DENIM 3RD TYPE JACKET (WASH)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เสื้อยีนส์ที่เรียบง่ายและกระชับในแบบ Type 3 จาก FOB Factory เสื้อยีนส์นี้ผลิตจากผ้ายีนส์เนื้อนุ่มในความหนาแน่นปานกลาง เช่นเดียวกับที่มันเป็นเมื่อทศวรรษที่ 60 และจะมีกระเป๋าเสื้อเล็กๆ บริเวณหน้าอกและรายละเอียดอื่นๆที่จะบ่งบอกถึงความเป็นเสื้อยีนส์รูปแบบนี้

สรุปเบื้องต้นว่า ประวัติศาสตร์ของความดั้งเดิมแบบคลาสสิคมันไม่ได้จะทำให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตจะต้องเลียนแบบตลอดเวลา แต่แค่ใช้มันเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นหลายๆบริษัท ที่จะไม่เพียงพยายามลอกเลียนแบบรูปแบบเก่าหรือวินเทจเพียงอย่างเดียว แต่ใช้เพื่อเป็นการแสดงมุมมอง และปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมยีนส์ทั้งหมดให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นความเข้าใจลึกซึ้งและความเปลี่ยนแปลง

เราขอให้คำสัญญาว่าจะมีสิ่งที่จำเป็นสำหรับแฟนพันธุ์แท้ยีนส์ทั้งหลายเพื่อทำให้ท่านมีความสุขเสมอ หากท่านมีคำถามแต่ประการใดเรายินดีจะช่วยท่านในสิ่งที่ท่านต้องการ.

ขอให้สนุกกับการช็อป!