กางเกงยีนส์ Studio d’Artisan สร้างกระแสความฮิตกับคนรักยีนส์อย่างแน่นอน ในครั้งนี้ผมอยากให้คุณได้อ่านรีวิวของบรรดานักเขียนบล็อกของเราโดยจะกล่าวถึง Indigo Shrimp จาก SDA x Denimio DM004 Sumi ที่นี่!
ขอต้อนรับผู้อ่านทั้งหลายเข้าสู่ภาคสองของสินค้า Denimio x Studio D’Artisan collaboration! สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติเครื่องทอและเรื่องราวของผ้ายีนส์ญี่ปุ่น คุณควรลองยีนส์รุ่นใหม่จาก Studio d’Artisan
รีวิวกางเกงยีนส์ DM003 คากิชิบุครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงเรื่องราวเครื่องทอผ้า Toyoda ซึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของยีนส์ G3 ในโมเดล collaboration เหล่านี้ รวมถึงรายละเอียดโดยภาพรวมบางอย่างเกี่ยวกับแบรนด์ Studio D’Artisan
ในวันนี้ผมจะเน้นไปที่กางเกงยีนส์ Denimio x Studio D’Artisan DM004 Sumi ซึ่งเป็นรุ่นที่สองและเป็นรุ่นสุดท้ายของโปรเจค collaboration ระหว่าง Denimio กับ Studio D’Artisan สำหรับการครบรอบ 40 ปีของผู้ผลิตกางเกงยีนส์
แนวคิดยีนส์ G3
ผมได้เขียนรีวิวเกี่ยวกับกางเกงยีนส์ G3 ไว้ในรีวิวก่อนหน้านี้ ผมจะขอสรุปในบล็อกที่นี่อีกสักหน่อยเพื่อให้คุณสะดวกในการอ่าน
“นับตั้งแต่มีการสร้างเครื่องทอผ้าในศตวรรษที่ 18 การเติมพลังให้กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปนั้น เทคโนโลยีเครื่องทอผ้ามีความก้าวหน้าพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลังจากการผลิตผ้าด้วยมือบนเครื่องทอผ้ามือนับพันปีก่อน จนพัฒนามาเป็นเครื่องทอผ้าพลังแรงดันไอน้ำเครื่องแรกไปสู่เครื่องทอผ้าที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้เวลาไม่ถึงสองศตวรรษ
Sakichi Toyoda ผู้ก่อตั้งบริษัทโตโยต้าที่ทันสมัยได้คิดค้นเครื่องทอผ้าพาวเวอร์ลูมเครื่องแรกของญี่ปุ่นเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ในเวลาเดียวกับที่มีเครื่อง Draper เป็นเครื่องทอผ้าอัตโนมัติเครื่องแรก ด้วยความที่ว่าญี่ปุ่นตกอยู่ในอำนาจของตะวันตกในแง่ของเทคโนโลยีสิ่งทอมาเกือบศตวรรษและเข้าใจว่าอารยธรรมสมัยใหม่กำลังถูกสร้างขึ้นบนเครื่องจักรกล Toyoda จึงอุทิศชีวิตของเขาเพื่อพัฒนาและปรับปรุงเครื่องทอผ้าญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา
เครื่องทอผ้าพาวเวอร์ลูมเครื่องแรกของ Toyoda เกิดขึ้นในปี 1896 คือ เครื่องที่ต้องวางกระสวย พัฒนาเป็นหนึ่งในซีรีส์ของเครื่องทอพาวเวอร์ชัทเทิลลูมในช่วงครึ่งศตวรรษต่อมา จนในปี 1903 เขาคิดค้นเครื่องทอผ้าอัตโนมัติแบบเปลี่ยนกระสวยเครื่องแรกของโลกชื่อว่า Type T การพัฒนาขั้นสำคัญถัดไป คือ Type G สร้างขึ้นในปี 1924 ซึ่งปรับปรุงการสับกระสวยแบบไม่หยุดนิ่งเป็น Type T มีฟีเจอร์ กลไกเปลี่ยนกระสวยอัตโนมัติและปรับปรุงประสิทธิภาพกี่ทอผ้า ต่อมาเป็น Type G ในเวลานั้นเป็นที่รู้จักกันดีเรื่องผ้าทอคุณภาพ แม้จะใช้ความเร็วสูงในการทอ (ตามมาตรฐานของปี 1920)
ต่อมา Sakichi Toyoda ได้ถึงแก่กรรมในปี 1930 เขาทิ้งมรดกที่สำคัญไว้เบื้องหลังมากมาย รวมทั้งเครื่องทอผ้า Toyoda Automatic Loom Works ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผลงานของ Toyoda ที่สร้างขึ้นหลังจากความสำเร็จของ Type G เขาก็ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เครื่องจักรที่สร้างผ้าเดนิมที่แสดงอยู่นี้คือ เครื่องทอผ้าอัตโนมัติ Type G เป็นรุ่นที่ใหม่กว่าของ Type G ผลิตในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงปี 1950 ส่วนเครื่อง G3 เกิดขึ้นหลังจากการกำเนิดกระสุนปืน มาหลังเครื่องทอผ้าโปรเจคไทล์ปี 1940 เสียอีก ดังนั้นช่วงเวลาที่ G3 ถูกคิดค้นขึ้นนั้น การผลิตผ้ายีนส์ได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่การทอผ้าที่ทันสมัยแล้ว ต่อมาหลังจากปี 1950 เป็นยุคทองของผ้าเดนิมอเมริกัน กระสวยทอผ้าก็อพัฒนาเข้าที่แล้ว
ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า ชาวญี่ปุ่นไม่พยายามสร้างผ้าเดนิมจากเครื่องทอผ้าจนถึงปี 970 ซึ่งตามที่ได้กล่าวถึงในรีวิวครั้งก่อนของผมเกี่ยวกับกางเกงยีนส์ Big John ช่วงปี 1983 มีการใช้เครื่องทอกระสวยเครื่องแรก กางเกงยีนส์ญี่ปุ่นคุณภาพถูกผลิตจากช่างฝีมือโดยตรง สิ่งที่น่าสนใจคือ เครื่องทอ G3 เป็นเหมือนบรรพบุรุษที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลิตผ้าทอแบบญี่ปุ่น อย่างเช่น ผ้าใบของเรือใบที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตผ้าเดนิมมาก่อน จนกระทั่งเพิ่งใช้ทอผ้าเดนิมเมื่อไม่นานมานี้
ทีนี้เราผมจะพาคุณข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังถิ่นของผ้าเดนิมที่เครื่อง Draper เครื่องทอผ้าแบบกระสวยรุ่นสุดท้ายได้ใช้ผลิตผ้าในปี 1940 คือ X-3
เป็นช่วงที่โรงงานอเมริกันปิดตัวลงหนึ่งแห่งในศตวรรษที่ 20 แม้แต่โรงงาน White Oak ของ Cone Mills ก็ต้องย้ายเครื่องทอผ้า Draper ออกจากที่เก็บของ
เครื่องทอผ้า G3 ของ Toyoda ในช่วง 60 ปีก่อน เริ่มเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์อย่างช้า ๆ ปัจจุบันนี้ไม่มีเครื่องทอผ้า Type G รุ่นก่อนที่ใช้งานในเชิงพาณิชย์ ผมทราบมาว่ามีโรงงานเพียงแห่งเดียวในญี่ปุ่นที่ยังคงใช้งานเครื่องทอผ้าแบบ G3 ผ้าเดนิมที่ทอจากเครื่อง G3 ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในคนรักยีนส์ โดยมีแบรนด์ เช่น Warehouse, Trophy Clothing, Studio D’Artisan และแบรนด์อื่น ๆ ที่ยังใช้เครื่อง G3 ในการผลิตผ้าเดนิมอยู่บ้าง
แล้วความพิเศษของผ้าเดนิมที่ผลิตด้วยเครื่องทอ Type G3 คืออะไรล่ะ?
หากพิจารณาดูจะพบว่า หลายประเทศในเอเชียยังคงสร้างเครื่องทอแบบกระสวยอยู่ และถ้าคุณจ่ายเงินมากขึ้น คุณจะได้ผ้าเดนิมทอมือ (ซึ่งเป็นเกรดสูงกว่าเดนิมทั่วไป) ซึ่งผมไม่ขอกล่าวรวมถึงเครื่องทอผ้ารุ่นใหม่ที่ตั้งโปรแกรมผลิตผ้าได้ทุกประเภทตามต้องการอยู่แล้ว…
ตอนนี้โรงงาน White Oak ได้ปิดตัวลงแล้วและเครื่องทอผ้า Draper X- looms ก็ไม่ได้ใช้งานอีก ผ้าเดนิมที่ทอจากเครื่อง G3 นั้นเป็นผ้าทอกระสวยที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งอาจจะพบเห็นได้บ้าง แต่ก็เป็นผ้าเดนิมที่ทอตั้งแต่ปี 1950
เครื่องทอผ้า G3 ให้ความรู้สึกถึงความเก่าแบบโรแมนติกผ่านเดนิมได้หลายสิบปี“
แนวคิดเกี่ยวกับยีนส์ซูมิ (Sumi)
คำว่า ซูมิ ในภาษาญี่ปุ่นอาจหมายถึง ชาโคลหรือน้ำหมึกก็ได้ หากลองพิจารณาอักษรจีน 墨 บนป้ายแพทช์หนังให้ดีแล้ว ก็คงสื่อความหมายไปทาง “น้ำหมึก” มากกว่า
ประวัติความเป็นมาของน้ำหมึกเป็นสิ่งที่ยาวนานและซับซ้อนเชื่อมโยงกับบรรพบุรุษของเราว่าจะเลือกถ่ายทอดออกมาอย่างไร ผ่านคำพูดหรือผ่านการวาดภาพ หมึกธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ถูกนำมาใช้ในการวาดลวดลายตั้งแต่ยุคที่บรรพบุรุษของเราอาศัยอยู่ในถ้ำและจนกระทั่งชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณเมื่อ 4,000 กว่าปีที่แล้วเริ่มเก็บเขม่าจากไฟ และได้มีการประดิษฐ์หมึกขึ้นมาใช้ เศษหมึกที่เก่าแก่ที่สุดบางส่วนนอกเหนือจากภาพเขียนถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ก็มีให้เห็นในรูปแบบของอักษรอียิปต์โบราณที่เขียนบนกระดูก oracle และกระดองเต่า
เมื่อถึงเวลาทำศึกสงครามกัน นักปราชญ์ชาวจีนก็ได้เขียนวรรณคดีด้วยหมึก ทำให้เกิดวัฒนธรรม ศิลปะและวรรณกรรมที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเอเชียส่วนใหญ่รวมถึงญี่ปุ่นด้วย นักปราชญ์มีเพื่อนแท้อยู่สี่คน ได้แก่ หินหมึก แท่งหมึก พู่กันและกระดาษ 🙂
สิ่งประดิษฐ์ที่มีหมึกมักจะอยู่ในรูปของตัวอักษรจีนหรือภาพวาด ซึ่งถูกนำเข้ามาอย่างต่อเนื่องในญี่ปุ่นนับจากศตวรรษที่สอง แม้ว่าญี่ปุ่นขณะนั้นยังไม่มีระบบการเขียนมาตรฐาน ก็ไม่สามารถถอดรหัสหรือสัญลักษณ์ภาษาจีนได้ จนกระทั่งศตวรรษที่สิบห้า ด้วยอิทธิพลการเขียนภาษาจีนและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้หมึกในเชิงศิลปะหลากหลายด้าน จนน้ำหมึกแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
1500 ปีหลังจากที่หมึกเป็นที่แพร่หลายแล้ว ประกอบกับการเขียนญี่ปุ่นได้พัฒนาจนเป็นมาตรฐานชัดเจน ด้วยตัววัฒนธรรมเองต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ธีม collaboration ส่วนใหญ่ของ Sumi จึงหมายถึง “หมึกสีดำ” ด้วยประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการใช้หมึกดำทั่วโลกมานาน การใช้หมึกจึงไม่ได้เป็นประเพณีเฉพาะของญี่ปุ่นหรือเป็นของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ศิลปะแห่งการประดิษฐ์ตัวอักษรและภาพวาดหมึกขาวดำพบได้มากในแถบเอเชียตะวันออกซึ่งศิลปินและผู้รังสรรค์ผลงานการใช้น้ำหมึกเป็นชาวญี่ปุ่น
ไม่มีจารีตหลักเรื่องของการใช้หมึกเขียนเพื่อการย้อมเสื้อผ้า แน่นอนไม่มีการใช้หมึกย้อมผ้าเดนิมในประเทศแถบตะวันตกยุคเก่ามาก่อน ดังนั้นการใช้สีย้อมหมึกกับเส้นทอเดนิมในเครื่อง G3 นี้ถือเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยไม่ซ้ำใคร
คัตติ้งการตัดเย็บ
รุ่นนีมีมความคล้ายกับรุ่น DM003 คัตติ้งของยีนส์ซูมิ DM004 เอ็กซ์คลูซีฟสุด ๆ ด้วยทรงเป้าสูง ทรงขาเรียว ใช้ tapered สูงที่ดูทันสมัย
ในภาพนี้เป็นกางเกงยีนส์แช่ครั้งเดียวจากโรงงานและผมใส่เป็นวันที่ 4
จากตัวอย่าง ผมลองใส่ไซส์ 36 ผมสูง 185 ซม. และหนัก 94 กก.
ทรงเป้าสูงปานกลาง
ยีนส์ช่วงบนตัดเย็บให้ใส่แล้วรู้สึกสบาย ความกว้างของผ้าช่วงก้นพอดีทำให้ลุกนั่งคล่องตัว
ช่วงต้นขากว้าง ช่วงขากางเกงตั้งแต่เข่าลงไปจะแคบเรียวลงจนถึงชายกางเกงยีนส์ยาว 19 ซม.
แนวตะเข็บขาด้านในยาว 86 ซม. หลังผ่านการแช่จากโรงงาน
เนื้อผ้า
ผ้าเดนิม G3 ตัวนี้ผลิตจากเครื่องทอแบบกระสวย เครื่องของแท้เลย
ขนาดผ้า 14 ออนซ์ ผ้าอาจหดตัวอีก (unsanforised) ผ้าลายเฉียงขวา
การผสมผสานผิวหยาบ slubbing ในแนวตั้ง (ด้ายพุ่ง) และเท็กซ์เจอร์แนวนอน (ด้ายยืน) ที่แข็งแกร่งที่เกิดขึ้น ตัดกันอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากยีนส์แบบ ‘big slub’ อย่างชัดเจน
ผ้าเดนิมนี้มีลักษณะขรุขระเล็กน้อยและหยาบ แต่สวมใส่ดี ทรงสวย
สิ่งที่น่าสนใจของผ้ายีนส์ซูมิ Sumi รุ่น G3 คือ จะมีความแข็งน้อยกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผ้าทอรุ่นคากิชิบุ Kakishibu ที่ใช้วิธีการทอแบบเดียวกัน
ยีนส์รุ่นนี้ไม่มีขนโผล่มามากเกินไปและผ้าเดนิมก็ไม่เป็นเม็ด nep จนเกินพอดี
ความหนาแน่นของเนื้อผ้า เสมือนเมล็ดพืชแน่น ๆ ที่เป็นผลผลิตของเครื่องทอผ้าที่ถักทออย่างช้า ๆ
โทนสีโดยรวมคือ สีครามแดงซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเทาขึ้นอยู่กับว่าแสงจะส่องมาจับเนื้อผ้า Sumi มากน้อยเพียงใด
หากแสงน้อยลง ยีนส์จะเป็นสีฟ้าเนื่องจากด้ายยืนแนวนอนเป็นสีเทา การแต่งแต้มสีแดงและสีม่วงนั้นไม่ได้เข้มข้นมากมายเมื่อเทียบกับรุ่น Kakishibu
การย้อมสีด้ายยืนแนวนอนที่มีความเข้มน้อยกว่าส่งผลให้สีของด้ายพุ่งแนวตั้งเด่นมากขึ้น เน้นให้เห็นถึงลักษณะภาพของการทอแบบ G3 ได้ความคมชัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับผ้าเดนิมคากิชิบูสีเข้ม
สีของด้ายยืนทำให้ลักษณะเม็ดบนเดนิมค่อนข้างมาก และปกคลุมด้วยผิว slubbing แนวนอน
จากภาพนี้เราเห็นเส้น selvedge มีโทนสีน้ำตาลแทรกสีเทาของหมึก
ผ้าเดนิมประกอบด้วยฝ้ายแอฟริกันและฝ้ายออสเตรเลียทำขึ้นเป็นเส้นด้าย
ดีเทล
ฟีเจอร์ของ DM004 มีป้ายแพทช์หนังสีข้าวสาลีนูนออกมาด้วยสัญลักษณ์ตัวด้วงเดนิมิโอที่ติดกับแท่งหมึกในสไตล์ของ sumi-e
ตัวอักษรจีนพิมพ์ด้วยหมึกที่มุมบนขวาของป้ายแพทช์หนัง
ฟีเจอร์ลายเส้น arc บนกระเป๋าหลังรุ่นล่าสุดของ Studio D’Artisan’s
กระเป๋าด้านหลังมีซับในครึ่งผืนด้วยผ้าทอลายทแยงย้อมสีด้วยหมึก
กระเป๋ามีขนาดพอดี ใส่กระเป๋าสตางค์ได้โดยไม่มีปัญหา
ฟีเจอร์ผ้าทอลายทแยงหมึกเหมือนกับกระเป๋าด้านหน้าซึ่งยาวพอที่จะใช้งานได้จริง
ตัวแท็กกระเป๋าใส่เหรียญมีการทอแท็ก Studio D’Artisan และ Denimio ทำจากผ้าซาชิโกะย้อมด้วยหมึก
กระเป๋าเหรียญกว้างและลึกมากพอที่จะใช้งานได้จริง
แท็กด้านในบริเวณเอว (ด้านหลังแพทช์หนัง) ทอในประเทศญี่ปุ่น
รายละเอียดของยีนส์รุ่นนี้เหมือนกับ DM003 ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของรุ่นนี้พอดี
ใช้กระดุมโลหะแบบลอย 5 เม็ด
หมุดทองแดงเป็นแบบเจาะทะลุตรึงอีกด้านหนึ่ง
หมุดทองแดงซ่อนไว้แบบเรียบ ๆ บริเวณนี้
หมุดที่ซ่อนอยู่ถูกปรับแต่งและซ่อนใต้กระเป๋าหลังอย่างเรียบร้อยสวยงาม
การเย็บยีนส์รุ่นนี้คล้ายกับยีนส์รุ่น DM003 เช่นกัน ซึ่งทำให้ได้ลุคแนวเก่า ๆ หน่อย
ด้ายสีมะนาวและชาเด่นออกมาจากสีผ้าเดนิมที่มีสีดำ สีฟ้าและสีขาวแทรกในเนื้อเดนิมเป็นพื้นหลัง
ผมนับด้ายที่ยีนส์รุ่นนี้ใช้มีอย่างน้อย 6 ขนาดและเย็บแบบลายโซ่เพื่อให้ได้ความสวยงามตามสไตล์วินเทจ
รอยเย็บบริเวณบล็อกบนของตัวยีนส์
การเย็บแบบใช้ฝีเข็มเดียว เย็บเป็นตะเข็บล็อคช่วงตะเข็บขาด้านในกับชายกางเกงยีนส์
เย็บล็อคที่ขอบอีกชั้นอย่างประณีต
เย็บซ่อนขอบผ้าช่วงขาด้านในเรียบร้อบเช่นกัน
รังดุมของยีนส์เย็บแล้วตัดตรงกลาง เพื่อให้ได้โครงสร้างที่แข็งแรง
สายห่วงเข็มขัดถูกยกขึ้นมากึ่งกลางและยึดติดกับบาร์สองครั้ง
บริเวณนี้ต้องเย็บประณีตแน่นหนาขึ้นหน่อยเพื่อทนการดึงรั้ง
การเย็บแบบห่วงโซ่ตะเข็บบนชายกางเกงยีนส์ด้วยฝีเย็บสม่ำเสมอ
ยีนส์รุ่นนี้ตัดเย็บประณีตเรียบร้อย เก็บรายละเอียดงานได้เทียบเท่ากับรุ่น DM003 จริง ๆ ครับ
ความเห็นส่วนตัว
หลังจากที่ผมได้รีวิวกางเกงยีนส์รุ่น DM003 Kakishibu ผมกลายมาเป็นแฟนตัวยงของยีนส์สีลูกพลับ และกำลังลองยีนส์รุ่น Sumi นี้อยู่ ก่อนใส่ผมก็คาดหวังไว้สูงเหมือนกัน
ยีนส์รุ่น DM004 Sumi ของ Denimio x Studio D’Artisan ก็เป็นโมเดลที่ทำให้คุณเห็นภาพดีเทลของยีนส์รุ่น DM003 ไปด้วย หากกางเกงยีนส์ลูกพลับนั้นดูเท่และมีลูกเล่นในดีเทลแล้ว ยีนส์รุ่นที่ใช้หมึกนี้ก็เป็นการออกแบบที่ดูมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นนั่นเอง
ยีนส์รุ่น Sumi นี้ไม่เหมือนเดิมมากนักเมื่อเทียบกับกางเกงยีนส์รุ่น Kakishibu ผมสังเกตเห็นเรื่องสีย้อมผ้าที่มีความต่างกันบ้างเล็กน้อย ผมจะจำแนกประเด็นความต่างของแต่ละจุด ดังนี้
- ยีนส์รุ่น Kakishibu เป็นผ้าเดนิมสีเข้มมากกว่า
- ยีนส์รุ่น Kakishibu มีความแข็งแรงแม้จะผ่านการทอแบบเดียวกัน
- ยีนส์รุ่น Sumi ช่วยให้เห็นลายเส้นทอแนวนอนและเท็กซ์เจอร์ได้ชัดกว่า
- ยีนส์ Sumi มีโทนสีครามคล้ายกับผ้าเดนิมแบบดั้งเดิมมากกว่า
ดังนั้นแม้ว่าทั้งสองรุ่นจะผ่านการทอแบบ G3 เหมือนกัน แต่ด้วยการใช้สีย้อมผ้าที่แตกต่างกันก็ดึงเอกลักษณ์ของยีนส์แนวเก่า ๆ ออกมาได้ไม่เท่ากัน ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วในการรีวิวก่อนหน้านี้ว่าผ้ายีนส์ G3 นั้นพิเศษมาก เป็นผ้าแนวยุคเก่าของแท้เลย คุณลองเปรียบเทียบยีนส์ G3 นี้กับยีนส์ญี่ปุ่นอื่น ๆ ดูได้
การตัดเย็บฮาร์ดแวร์และรายละเอียดของรุ่น DM003 และ DM004 จะคล้ายกันมาก ความแตกต่างเพียงจุดเดียวคือ สีของแพทช์บนกระเป๋าซาชิโกะและกระเป๋าผ้า
ผมรู้สึกว่าแพทช์หนังกางเกงยีนส์ทั้งสองรุ่นถูกย้อมด้วยสีย้อมตามลำดับขั้นตอนเฉพาะ แต่พอใส่แล้วผมมีความสุขมากกับตัวดีเทลต่าง ๆ รวมทุกองค์ประกอบจากผ้าซาชิโกะไปจนถึงกระดุมโลหะโบราณ มันช่วยเพิ่มความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์ของกางเกงยีนส์และพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณภาพที่ดีจริง
คุณจะเห็นอีกว่ากระเป๋าใส่เหรียญผ้าซาชิโกะของยีนส์รุ่น DM004 เหมือนจะมีสีเข้มกว่า จริง ๆ แล้ว อาจเข้มน้อยกว่าด้วยซ้ำเมื่อนำมาวางเทียบใกล้กับรุ่น DM003 นอกจากปัจจัยโดยรวมเรื่องโทนสีครามที่มากกว่าเดิมแล้ว อีกอย่างหนึ่งคือ ยีนส์รุ่น Sumi กระชับมากกว่ายีนส์รุ่น Kakishibu ด้วย
ส่วนดีเทลแพทช์หนังยังคงสีสดใสและสีด้ายมีความคมชัดสไตล์วินเทจ แม้แต่กางเกงยีนส์ รุ่น Sumi ก็อาจเทียบไม่ติด นี่แหละคือสิ่งที่แบรนด์ Studio D’Artisan ชอบผลิตยีนส์ที่เป็นรุ่นที่หาตัวจับได้ยาก!
ยีนส์รุ่น DM004 ยังคงธีมแนวตะวันออกกับตะวันตกไว้ได้ลงตัว การผสมผสานระหว่างสีย้อมแบบตะวันออกกับรายละเอียดและการทอแนวอเมริกันเป็นจุดที่ทำให้ผมรู้สึกใส่ยีนส์นี้แล้วมันเติมเต็มสไตล์ได้ค่อนข้างสมบูรณ์เลย
นอกเหนือจากการผสมผสานของธีมและความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยีนส์รุ่นนี้ยังแทรกดีเทลความสนุกสนานลงไปเป็นองค์ประกอบหลักของเอกลักษณ์แบรนด์ Studio D’Artisan ด้วย ผมคิดว่า Denimio บาลานซ์การรวมแบรนด์ collaboration ได้เหมาะสมดี ดีไซน์ไม่สุดโต่ง(ผมเห็นยีนส์รุ่นพิเศษ D’Artisan มันดูดิบ ๆ เถื่อน ๆ ไง!)
สไตล์เดนิมที่เอ็กซ์คลูซีฟของเดนิมิโอในคอลเลคชั่นนี้ทำทรงยีนส์ได้เหมาะกับผมมาก คือ ความผมรู้สึกส่วนตัวผมว่าตัดดีกว่ายีนส์เฉพาะรุ่นของ Studio D’Artisan ผมใส่ยีนส์ Sumi วันแรกก็ใส่สบายดีนะครับ ไม่อึดอัด เอาเป็นว่าเรื่องสัมผัสคุณอาจไม่อินกับผม แต่ที่แน่ ๆ ทรงขากางเกงสวยมากจริง ๆ ครับ
เดนิมิโอได้พัฒนาแพทเทิร์นการตัดเย็บนี้เพื่อให้ใส่แล้วดูดีและคงทนด้วย ทรงเหมาะกับรูปร่างชาวตะวันตกส่วนใหญ่ถ้าเทียบกับการตัดแบบปกติของ D’Artisan นี่คือสิ่งที่เดนิมิโอใส่ใจลูกค้าในกลุ่มประเทศดังกล่าวเช่นกัน หากคุณรักทรงกางเกงยีนส์กระชับเข้ารูปแบบนี้ คุณหาซื้อยีนส์ได้จากโปรเจ็คการตัดเย็บเฉพาะของเดนิมิโอเท่านั้น
ถ้าจะกล่าวถึงกางเกงยีนส์ตัวโปรดของผมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมขอบอกว่า ผมชอบเสื้อผ้าสไตล์ฟิวชั่นมากกว่าแนว Americana ผมชอบงานของคนญี่ปุ่น เขาทุ่มเทใส่ใจดีเทล ถูกใจผมครับ
อาจจะมีบางครั้งที่ดีไซน์หรือสีสันดูแรงเกินไป (ยีนส์รุ่นพิเศษของซามูไรยีนส์) แต่สำหรับยีนส์รุ่นซูมินี้ออกแบบได้สมดุลดีแล้วครับ ทำให้ผมใส่แล้วมั่นใจมากขึ้นเหมือนกางเกงยีนส์มันเล่าเรื่องราวความเป็นญี่ปุ่นออกมาด้วย เปลี่ยนลุคผมให้กลายเป็นหนุ่มแดนซามูไรทันที
ผมต้องขอกระซิบเพิ่มว่า สีย้อมหมึกของยีนส์รุ่นซูมิบนเนื้อผ้ามันสวยมากครับ ใส่แล้วเหมือนมีสปอตไลท์ให้ตัวเอง ตัวหมึกกับการทอเดนิมแบบ G3 มันผสมผสานมาเป็นเอกลักษณ์บนเนื้อผ้าที่ทำให้ผมอึ้งว่า ผ้ามันมีมิติขึ้นได้ ซึ่งเดนิมทั่วไปที่ย้อมด้วยสีครามทำไม่ได้แบบนี้แน่นอนครับ
ท้ายที่สุดนี้ผมขอฝากยีนส์รุ่น DM004 Sumi ให้แฟน ๆ ที่รักเดนิมยีนส์ดิบไปลองจัดมาใส่สักตัวครับ จะได้คุยกับผมรู้เรื่อง 🙂 โดยเฉพาะคนที่สนใจประวัติศาสตร์ยีนส์ของญี่ปุ่น หรือสนใจเรื่องเท็กซ์เจอร์และลายทอเดนิม ไปจนถึงนักเล่นยีนส์มือสมัครเล่น ควรลองยีนส์รุ่น DM004 ผมกล้าเดิมพันได้ว่าคุณจะใส่ได้แบบไม่เบื่อเลยครับ!
สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 8,600 บาท (289 ดอลล่าร์) Denimio x Studio D’Artisan DM004 ดีลราคาดี ๆ สำหรับกางเกงยีนส์สเปเชียลเอดิชั่นของ D’Artisan เป็นหนึ่งในรุ่นครบรอบ 40 ปี และเป็นรุ่นที่ผมชอบมาก ๆ ด้วย
ท่านใดที่สนใจยีนส์รุ่นนี้ เข้ามาสั่งพรีออเดอร์กันได้ที่เว็บไซต์ของ Denimio [linked here] ผมรอคุณใส่ยีนส์เป็นเพื่อนผมอยู่นะครับ
Leave a Reply