Levi’s 501 ยีนส์ต้นแบบ- การบิดพริ้วของตัวคลาสสิกดั้งเดิม

 

ในโลกแห่งยีนส์นั้น มันไม่ใช่ความลับถ้าเราจะบอกว่า Levi’s 501 เป็นต้นแบบของยีนส์แบบคลาสสิกทั้งหมด เราลองเอาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของลีวายเองไปเทียบดูได้ ยังไงก็มีกลิ้นอายความเป็น 501 แล้วรุ่นนี้ก็ยังคงเป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อผู้ผลิตหลายๆรายจนถึงวันนี้ เราจะเห็นในรายละเอียดและรูปทรงหลายๆอย่าง

กระบวนการของยีนส์ญี่ปุ่นทั้งหมดที่มีมาจนถึงทุกวันนี้เองเริ่มต้นขึ้นจากแรงบันดาลใจของผู้ผลิตที่ต้องการจะผลิตยีนส์ในแบบเดียวกันด้วยความรักและความตั้งใจจากต้นแบบยีนส์คลาสสิกนั่นเอง และนั่นเข้ามาอยู่ในวงการแรงงานฝีมือบนไลน์ผลิตในญี่ปุ่นและด้วยช่างฝีมือทั้งหลายมีความใส่ใจในรายละเอียดแม้รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

บางบริษัทฯพยายามจะกลับมาผลิตยีนส์คลาสสิกในสไตล์ 501 อีกครั้งหนึ่ง โดยพยายามจะให้ใกล้เคียงกับของดั้งเดิมมาที่สุด รุ่นเหล่านี้จากแบรนด์ญี่ปุ่นแรกเริ่มเดิมที (ตัวอย่างเช่นแบรนด์จาก “Osaka 5” ชื่อดัง Full Count) จนถึงแบรนด์ใหม่ๆอย่างเช่น TCB นี่แหละคือความตั้งใจของผู้ผลิตที่ต้องการผลิตยีนส์ในรูปแบบและรูปทรงของลีวาย 501 ที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน เรายังเห็นว่าพวกเขาพยายามจะสื่อไปถึงจิตวิญญาณของยุคดั้งเดิม สิ่งเหล่านี้ออกมาจากการทำงานและการคัดสรรค์วัตถุดิบ การติดตั้งส่วนต่างๆเข้าด้วยกันและอุปกรณ์ต่างๆรุ่นใหม่เหล่านี้ที่ให้ความใกล้เคียงกับสิ่งในประวัติศาสตร์มากที่สุด

ในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไม่ได้ถูกจำกัดกับเพียงแค่การเล่นกับยีนส์แบบเก่าๆ พยายามจะใช้ผ้าหนักๆด้วยความซลับบี้แบบไม่เหมือนใคร และยังมีดีไซน์ที่มีที่มาโดยตรงจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น วัฒนธรรมและตำนานโบราณ (หนึ่งในตัวแทนที่ชัดเจนที่สุดก็คือ Samurai Jeans)

ในบทความนี้เราจะแนะนำสิ่งที่น่าสนใจและเห็นได้ชัดเจนที่สุดของยีนส์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากลีวาย 501 ในแบบต่างๆ

Full Count

แบรนด์นี้เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่โด่งดังที่สุดในบรรดาผู้ผลิตยีนส์ของญี่ปุ่นทั้งหมด และแต่งตั้งตั้งแต่ปี 1992 Full Count เป็นหนึ่งในตัวแทนจาก Osaka 5 ที่โด่งดังตามที่ได้บอกไปตอนต้น

พูดถึงยีนส์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของลีวาย Full Count’s น่าจะเป็นแบรนด์ที่น่าพูดถึงที่สุด ด้วยยีนส์แบรนด์นี้ในรายละเอียดต่างๆเอง ได้รับอิทธิพลจากยีนส์ดั้งเดิมของอเมริกันมาเกือบทั้งหมด

แต่จากคดีความที่ถูกฟ้องโดย Levi Strauss & Co ที่ทำให้การใช้อะไหล่ต่างๆที่มีความเหมือนกับผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะกระทำไม่ได้ Full Count ยังคงใช้ลายกระเป๋าหลังที่ ถ้าจะพูดจริงๆก็น่าจะมาจากลีวายนั่นแหละ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยีนส์ได้ถูกเย็บด้วยด้ายสีแดงและสีเหลืองเลม่อน มีรูปร่างเป็นตัววีที่เข็มขัดและใช้กระดุมในรูปแบบของลีวายดั้งเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พูดถึงสไตล์ ในแบบหนึ่งหรืออีกแบบ พวกเขาก็ยังมีความเป็นลีวายคลาสสิกอยู่มาก

 

 

FULL COUNT
0105XX 1953 MODEL TAPERED 15.5OZ

FULL COUNT
0105XX 1953 MODEL TAPERED 15.5OZ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตามชื่อที่ได้แนะนำ ยีนส์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากยีนส์คลาสสิกของช่วงปี 50 ช่วงเวลาของ ร็อคแอนด์โรลล์ มอเตอร์ไซต์ และภาพลักษณ์ของกบฎ ที่จะพบเห็นได้ในภาพยนตร์โดย James Dean และ Marlon Brando นี่คือยีนส์ที่มีโครงสร้างแบบ upper block และเริ่มมีการ tapered ลงตั้งแต่เข่าจนถึงปลายขา รุ่นนี้จะดูเท่มากเวลาพับขาขึ้นและใส่กับบูทหนักๆ

FULL COUNT
1108XX MIDDLE STRAIGHT 15.5OZ

FULL COUNT 1108XX MIDDLE STRAIGHT 15.5OZ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

FULL COUNT
1108 MIDDLE STRAIGHT 13.7OZ

FULL COUNT
1108 MIDDLE STRAIGHT 13.7OZ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รุ่น 1108 และ 1108XX (ต่างกันเพียงความหนาแน่นของผ้ายีนส์) เป็นรุ่นท็อปของ Full Count และเป็นรุ่นที่มีต้นแบบจากลีวาย 501 ตั้งแต่ช่วงปี 60 เป็นช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์เริ่มถูกนำมาควบรวมกับแฟชั่นและสไตล์ในแบบต่างๆนอกจากเป็นเพียงเครื่องแต่งกายสำหรับคนงาน รูปทรงของยีนส์เองแคบลง

ยีนส์รุ่นนี้จาก FC ไม่ได้มีความเหมือนกับลีวาย 100% ในช่วงนั้น (ใช้ป้ายหนัง มีหมุดซ่อนบริเวณกระเป๋าหลัง ซึ่งลีวายไม่ได้ใช้ในช่วงปี 60) 

 

Samurai Jeans

หากเราเปรียบเทียบกับยีนส์ญี่ปุ่นคลาสสิกที่นำมาผลิตใหม่ Samurai ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งของยีนส์ญี่ปุ่นจากผู้ผลิตญี่ปุ่น ประการแรก นี่เป็นการนำเสนอการผลิตรูปแบบใหม่ซึ่งคงรายละเอียดต่างๆที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเอาไว้ในบางสไตล์ Samurai ได้ผลิตสิ่งที่เยี่ยมขึ้นไปอีกและเพิ่มมันลงไปในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยีนส์ของพวกเขาเหมือนการนำรายละเอียดเด็ดๆของทั้งฝั่งอเมริกันและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมารวมเข้าด้วยกัน ดีไซน์และความแปลกใหม่ที่นำมารวมกันนี้จะเห็นได้ในทุกที่ นอกจากนี้กางเกงยีนส์ทรงเล็กที่น้ำหนักมาก และด้วยเนื้อผ้าที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบไม่มีใครเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 นี่คือที่มาของ Samurai

 

SAMURAI JEANS
S3000VX 17OZ SELVEDGE DENIM

SAMURAI JEANS
S3000VX 17OZ SELVEDGE DENIM

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใจกลางของยีนส์รุ่นนี้มาจากลีวาย 501 จากช่วงปี 40 ตรงนี้เรามียีนส์ทรงที่ค่อนข้างใหญ่และเอวค่อนข้างสูงเหมือนกับกางเกงยีนส์สำหรับการทำงานและรายละเอียดที่ใช้ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ลายปักที่กระเป๋าหลังได้รับการทาสีแบบเดียวกับที่ลีวายทำในตอนนั้น ในช่องใส่เหรียญ (โดยเจตนา) ไม่มีหมุดในบริเวณนั้น ในขณะเดียวกันยีนส์ถูกสร้างด้วยผ้าที่มีความหนาแน่นถึง 17oz Zero Denim ซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญในบรรดาผู้ผลิตญี่ปุ่นแนวหน้าทั้งหลาย บริเวณเอวก็มีป้ายหนังพร้อมกรอบ และในริมผ้าเองจะเป็นสีแดงและสีเงินเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของใบมีดซามูไร ผ้าที่ใช้ทำกระเป๋ากางเกงทำจากผ้าสีแดงที่ทออย่างหนาแน่น

 

SAMURAI JEANS
S0500XX 15OZ OTOKOGI STRAIGHT

SAMURAI JEANS
S0500XX 15OZ OTOKOGI STRAIGHT

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หากท่านกำลังมองหากางเกงยีนส์ที่มีสไตล์คล้ายกับ 501 ในยุคใหม่ S0500XX จาก Samurai Jeans น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

นีเป็นสิ่งที่สามารถทราบได้ว่ามาจากลีวาย: ลายปักกระเป๋าหลัง ปักด้วยด้ายสีเหลือง ป้ายหนังและแท็คสีแดง บวกกับสัญลักษณ์ที่เขียนเป็นตัวอักษรว่า SAMURAI อย่างไรก็แล้วแต่สิ่งสำคัญของยีนส์รุ่นนี้คือผ้า Otokogi denim ซึ่งมีความหนาแน่นที่ 15oz และเนื้อผ้าที่น่าสนใจด้วยลายผ้าริ้วทางยาว ยีนส์ตัวนี้จะเฟดอย่างรวดเร็วและสวยงาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

SAMURAI JEANS
S510XX 21OZ STRAIGHT SELVAGE DENIM

SAMURAI JEANS
S510XX 21OZ STRAIGHT SELVAGE DENIM

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หนึ่งในยีนส์ที่โด่งดังที่สุดของ Samurai Jeans อาจจะมีที่มาจากลีวายช่วงปี 50 กางเกงยีนส์รุ่นนี้มีเอวสูงและทรงกว้าง ทรงขาจะเป็นกระบอกตรง

FOB Factory

เป็นบริษัทเล็กๆจากเมืองโอกายาม่า FOB Factory ไม่ได้เป็นที่รู้จักในชื่อเดียวก่อนหน้านี้ อย่างไรก็แล้วแต่ในคอลเลคชั่นของพวกเขาเองมีกางเกงยีนส์ที่น่าสนใจและหลักฐานในประวัติศาสตร์ของลีวายโบราณเช่นกัน

FOB FACTORY
F191 SELVEDGE 5P MIDDLE STRAIGHT WWII MODEL

FOB FACTORY
F191 SELVEDGE 5P MIDDLE STRAIGHT WWII MODEL

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นี่คือมุมมองยีนส์ส่วนตัวของเรากับรายละเอียดที่เกี่ยวกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงกางเกงเป็นทรงกระบอกตรงและเอวสูง เป็นสไตล์ของยีนส์ในช่วงปี 40 ซึ่งควรจะได้รับรู้ในการนำ Supima Cotton มาให้เพื่อให้ความนุ่มสบายกับตัวยีนส์เอง ฝ้ายที่มีใยยาวมาก และด้ายที่ยังไม่ได้ม้วนตอนปั่น ด้ายแบบนี้จะถูกทอขึ้นมาซึ่งจะมีความคงทนและนุ่มกว่า เราไม่สามารถพูดได้ว่ามันมีที่มาจากยุคโบราณ (เพราะ Supima เองก็ค่อนข้างจะเป็นวัตถุดิบที่ราคาสูง) ทางผู้ผลิตเพียงต้องการจะสร้างยีนส์ที่มีความสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับรายละเอียดก็ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากยีนส์ในยุคปี 40

ในตอนนี้ FOB FACTORY ไม่ได้ใช้ลายกระเป๋าแบบที่เราจะบอกได้ว่ามันเป็นไปในทางเดียวกันกับแบบของลีวาย ในกรณีนี้ กระเป๋าหลังทำขึ้นโดยไม่มีลายปักแต่มีแแท็คสีแดงที่แสดงถึงอิทธิพลของแรงบันดาลใจในการสร้างยีนส์รุ่นนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส้ในกระเป๋ากางเกงทำจาก Flannel นี่คือเหตุผลที่ลีวายพยายามจะคงไว้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กระดุมกับภาพของช่อที่ทำจากกระดมุทรงโดนัท บริเวณช่องใส่เหรียญไม่มีหมุด

 

 

TCB Jeans

แบรนด์นี้เป็นแบรนด์ใหม่จากเมืองโอกายาม่า เมืองที่เป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมยีนส์ญี่ปุ่น ด้วยความที่เป็นผู้ผลิตที่ค่อนข้างใหม่ TCB Jeans เป็นผู้เช่นที่น่ากลัวและใช้การผลิตยีนส์แบบระมัดระวังรวมถึงเสื้อผ้ารูปแบบอื่นๆด้วย โดยใช้แพทเทิร์นมาตรฐานดั้งเดิม ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Hajime Inoue เข้าร่วมพัฒนาโดยตรงในผลิตภัณฑ์ยีนส์ของพวกเขา กระบวนการผลิตจ่างๆใช้วิธีการเช่นเดียวกับที่ใช้ในยีนส์รุ่นโบราณ TCB พยายามที่จะผลิตยีนส์ให้ใกล้เคียงแบบดั้งเดิมมากที่สุดแม้กระทั่งสีและผิวของผ้ายีนส์ในเวลานั้นๆ

 

 

TCB 20’S

TCB JEANS
TCBJEANS20S TCB20’S

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในทุกวันนี้เราคงจะหายากมาก ผู้ผลิตที่จะผลิตยีนส์โดยใช้ลีวายเมื่อปี 20 เป็นต้นแบบ แต่ TCB ทำมัน 🙂 ยีนส์เหล่านี้จะมีทรงที่ใหญ่และเอวสูง ด้านหลังของยีนส์จะมีสายรัดเอวที่จะสามารถปรับขนาดเอวได้ ตรงช่องเข็มขัดก็จะมีกระดุมสำหรับสายเอี๊ยม กระเป๋าหลังจะมีหมุดทองแดงที่เห็นได้ชัดเจน (ในช่วงปี 20 ยังไม่มีหมุดซ่อน)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

TCB JEANS
50’S

 

 

TCB JEANS
50’S

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รุ่นนี้เป็นรุ่นท็อปและเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ TCB ชื่อที่มาจาก 501 ของช่วงปี 50 เป็นใจความสำคัญของตอนนี้ ยีนส์ทรงกระบอกตรงและใหญ่ ผ้ายีนส์ทำจากฝ้ายใยยาวจากซิมบัปเวย์ อันที่มีลักษณะนุ่มซึ่งคล้ายกับกำมะหยี่ที่สามารถมองเห็นได้

TCB ไม่ได้ใช้การปักลายที่กระเป๋าหลัง แต่ยังคงมีแท็คสีแดงอยู่ที่กระเป๋าหลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากม้า ป้ายหนังยังมีแมวด้วย เป็นสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่โปรดปราณของผู้สร้างแบรนด์นี้ Hajime Inoue ในเวลาเดียวกัน สไตล์ของป้ายหนังทั้งหมดก็ได้รับอิทธิพลมาจากลีวาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

TCB JEANS
60’S

 

TCB JEANS 60’S

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยีนส์ช่วงปี 60 ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างอย่างมากจากยีนส์ในช่วงปี 50 สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนในตัวอย่างของ TCB 60’s ประการแรกเลย นี่เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับยีนส์เองนั่นแหละ ตรงนี้ ยีนส์ที่นุ่มกว่าและมีการใช้สีครามที่อ่อนกว่า TCB ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาจากไร่ของ San Joaquin

ป้ายหนังของยีนส์รุ่นนี้ไม่ได้ทำจากหนัง แต่ทำจากกระดาษอัด นอกจากหมุดซ่อนที่กระเป๋าหลังได้มีการใช้การปักแบบ 42 เข็มเข้าใช้แทน

 

TCB PRE-SHRUNK JEANS (TYPE 505)

TCB JEANS
TCB TCBPRESHJEANS505 TCB PRE-SHRUNK JEANS (TYPE 505)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยีนส์เหล่านี้เป็นยีนส์ที่มาจากช่วงปี 60 TCB ทำรุ่นนี้ขึ้นโดยมีที่มาจากลีวาย 505 หรือในตอนนั้นเรียกว่า 501 แบบซิป ยีนส์ได้ถูกผลิตในรูปแบบที่นั่งเท่านั้นตามในประวัติศาสตร์ความเป็นจริง ยีนส์ทอจากฝ้ายอเมริกันทำให้ได้เนื้อผ้าที่เสมอกัน

รุ่นนี้ใช้ซิปทองเหลืองแบบโบราณโดย Talon

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ป้ายหนังที่ทำจากกระดาษอัดถูกเย็บติดกับตัวยีนส์ กระดุมบริเวณเข็มขัดใช้โลหะแบบสีเข้ม

 

Sugar Cane

นิทานเรื่องนี้จะไม่สมบูรณ์ถ้าเราไม่พูดถึง Sugar Cane เป็นหนึ่งในแบรนด์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักในเครือบริษัท Toyo ของญี่ปึ่น The Sugar Cane jeans เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ นักเลงยีนส์รอบโลกเริ่มต้นความสนใจในยีนส์กับการซื้อยีนส์ตัวแรกที่ชื่อว่า Sugar Cane แบรนด์นี้พยายามที่จะผลิตยีนส์ที่ใกล้เคียงกับลีวายในตำนาน และทำได้ใกล้เคียงมากด้วย

SUGAR CANE 1947 MODEL

SUGAR CANE
SC41947 14.25OZ STANDARD DENIM 1947 MODEL

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จะพูดกันตามตรงเลยนี่ได้รับต้นแบบจากลีวาย 501 คลาสสิกจากช่วงปี 40 ในช่วงนี้ลีวายหยุดการใช้รายละเอียดเดิมๆและเริ่มต้นการใช้กระดุมและนำลายปักกระเป๋าหลังกลับมาใช้

สำหรับรุ่นที่มาจาก Sugar Cane โดยตรง เราจะเห็นทรงกางเกงที่กว้างช่วงบนและ tapered เล็กน้อยบริเวณขากางเกง Sugar Cane ใช้ป้ายหนังย้อนยุคที่เคลื่อนไหวได้ กระดุมที่ถูกติดตั้งแบบลีวายวินเทจ ในตอนนี้ลายปักกระเป๋าหลังและแท็คสีแดงสำหรับ Sugar Cane นั้นไม่ได้ใช้ ทั้งหมดนี่ก็เป็นรายละเอียดที่ใกล้เคียงกับยีนส์ในตำนานมากแล้ว

 

SUGAR CANE 1966 MODEL

SUGAR CANE
SC42966 14OZ DENIM 1966 MODEL

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อย่างที่ได้กล่าวถึงด้านบน ยีนส์ในช่วงปี 60 ได้ถูกผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ง่ายลง เป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจและความเป็นจริงที่ยีนส์ได้กลายมาเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่กันประจำวันมากกว่าแค่จะเป็นเพียงเสื้อผ้าสำหรับการทำงาน ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นในการใส่รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจึงหายไปหมด

อย่างที่แสดงอยู่บนตัวอย่างของ TCB 60’s ป้ายหนังของ Sugar Cane เองก็ได้ผลิตด้วยกระดาษอัด ไม่ใช่หนังแท้ หมุดซ่อนบริเวณกระเป๋าหลังก็ถูกแทนที่ด้วยการปัก 42 เข็มบริเวณมุมกระเป๋าแทนที่

 

สรุป

เราได้นำเสนอกางเกงยีนส์แต่ละรุ่นจากผู้ผลิตของญี่ปุ่นซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากลีวาย 501 ในตำนาน ของแต่ละช่วงเวลาที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ผลิตบางรายพยายามที่จะติดอยู่กับประวัติศาสตร์ของมันอย่างใกล้เคียงที่สุด บางทีก็ไม่ได้นำมาทั้งหมด แต่เอามาเฉพาะรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และยังคงมีสไตล์ประกอบกับเนื้อผ้า พวกเขาเชื่อในรายละเอียดที่สำคัญของรูปทรงของกางเกงยีนส์ด้วย โดยการผลิตในรูปทรงที่มีความทันสมัยมากขึ้น ทุกอย่างประกอบกันเข้าและเสน่ห์ของกางเกงยีนส์เหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันในจิตวิญญาณและบุคลิก บางคนเท่านั้นที่จะหยุดอยู่กับรุ่นและผู้ผลิตเพียงรายเดียว ด้วยความเป็นนักเลงยีนส์เอง เราก็ต้องการที่จะลองของใหม่ที่แตกต่าง ผ้ายีนส์ เฟดที่แตกต่างและรายละเอียดของยีนส์เหล่านั้น ในกรณีนี้เป็นทางเลือกของท่านเองนะจ๊ะผู้อ่านที่เคารพรัก!