อินดิโก้ VS เพียวอินดิโก้ (กับ 5 เรื่องจริงที่คุณต้องรู้)

เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก คุณจะพบว่ากางเกงยีนส์ญี่ปุ่นรุ่นฮิตส่วนใหญ่เป็นผ้าเดนิมที่ย้อมด้วย
NATURAL INDIGO‘ หรือไม่ก็ ‘PURE INDIGO‘ แต่… คุณเคยรู้ถึงความแตกต่างของผ้าทั้งสองแบบนี้หรือไม่? การย้อมทั้งสองแบบส่งผลโดยตรงอย่างไรต่อเนื้อผ้า? หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว รับรองว่าเลเวลเรื่องยีนส์และเดนิมของคุณจะอัพเกรดขึ้นมาอีกหนึ่งระดับเลยทีเดียว

และเพื่อทำให้คุณหายข้อใจ เรามาเริ่มกันที่เรื่องของ Indigo กันก่อนบล็อก Denimio ภูมิใจเสนอ 5 เรื่องจริงสุดเจ๋งของIndigo dye ตามมาดูพร้อมๆ กันกับเรา เพราะหลังจากนี้คุณจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความแตกต่างของ Indigo และ Natural Indigo คืออะไร มาเริ่มกันเลย!


ความจริงข้อที่ 1 “ต้นอินดิโก้ไม่ใช่สีน้ำเงิน”

การย้อมเดนิมญี่ปุ่นด้วย Natural Indigo จะใช้ต้นไม้ที่มีชื่อว่า Indigofera พืชชนิดนี้มีความสูงอยู่ที่ 2 เมตร และมีใบเรียวยาวและดอกสีชมพูสดใส

นี่คือตัวอย่างของสีที่ได้รับการสกัดจากใบแห้งของต้นอินดิโก้

การย้อมด้วยอินดิโก้จะต้องใช้ใบแห้งของต้น Indigofera แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีที่ซับซ้อน คือการนำใบไม้แห้งมาแช่ในถังแบบพิเศษเพื่อทำการสกัดให้ได้สีอินดิโก้ ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างประณีต และต้องคอยคนอย่างสม่ำเสมอ และหลังจากได้สารสกัดแล้ว จึงทำการเทน้ำทิ้ง เหลือเพียงผงอินดิโก้สีเข้มที่พร้อมสำหรับใช้ในการย้อมเดนิม

มาถึงจุดนี้ ย้อนไปในบางครั้งที่คุณดูสเปคยีนส์ คุณอาจพบว่ากางเกงยีนส์ญี่ปุ่นมีการระบุบนเลเบลว่าเป็น NATURALLY INDIGO หรือ ย้อมอินดิโก้ธรรมชาติ อย่างเช่น ยีนส์รุ่นที่ขายดีของเรา
Pure Blue Japan ai-001 Natural Shoai Dyed Regular Straight ซึ่งก็หมายถึง ผ้ายีนส์รุ่นนี้ได้รับการย้อมด้วยสีอินดิโก้ธรรมชาติ ตามกรรมวิธีที่สลับซับซ้อนข้างต้นนั่นเอง

Pure Blue Japan AI-001 Natural Shoai Dyed Jeans


ความจริงข้อที่ 2 “Pure indigo เกิดขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยีนส์”

Pure Indigo มีความแตกต่างจาก Natural Indigo ซึ่ง Pure Indigo นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1865 โดยนักเคมีชาวเยอรมันที่ชื่อว่า Adolf von Baeyer ซึ่งต่อมาใสปี 1897 โรงงาน BASF (ปัจจุบันคือผู้ผลิตเคมีรายใหญ่ที่สุดในโลก) ได้นำเอาสาร Pure Indigo มาใช้ในระดับของงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีสเกลที่ใหญ่ขึ้น และนี่คือที่มาของ ยุคที่เราเรียกกันว่า “ยีนส์ Pure indigo”

ด้ายที่ได้รับการย้อมด้วย Pure Indigo จะให้ความสวยงามและมีเฉดสีที่คงที่ ซึ่งสาร Pure Indigo นี้ก็ถูกนำมาใช้ในการย้อมด้ายสำหรับยีนส์วินเทจอีกหลายรุ่น


มีหลายคนเชื่อว่าการย้อมด้วย Pure Indigo มักให้สีนำ้เงินบริสุทธิ์ และไม่มีสีเขียวหรือแดง (Green cast หรือ Red cast) ปนในเนื้อผ้า

อันที่จริงเราเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับเฉดของยีนส์เอาไว้เมื่อสักพักใหญ่ ซึ่งคุณตามไปอ่านเรื่องราวของเฉดสีพิเศษในเดนิมได้ที่บล็อก ‘สีไหนที่ใช่คุณ? – แดง เขียว หรือน้ำเงิน!’. มาถึงตรงนี้ คุณอาจอยากเช็คว่ายีนส์ที่มีอยู่นั้นเป็น Pure indigo หรือ Natural indigo กันแน่ เช็คแล้วมาแชร์บอกเราที่กล่องคอมเม้นท์ด้านล่าง!


ความจริงข้อที่ 3 “อินดิโก้ย้อมมือ คือความคลาสสิคขั้นสุด”

การย้อมด้ายอินดิโก้ด้วยมือถือเป็นฟีเจอร์ที่ดีที่สุดสำหรับยีนส์เฟด เพราะผ้ายีนส์จะค่อยๆ ให้สีที่สว่างขึ้นในบริเวณที่เกิดรอยพับ วิธีการนี้เป็นการย้อมที่หายากและมีต้นทุนสูง และใช้กับเฉพาะ Natural Indigo เท่านั้น ด้ายจะถูกย้อมซ้ำๆ นำมาทำให้แห้ง และซักด้วยมือ วิธีการนี้มีความสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องอาศัยการทำด้วยมือทั้งหมด

ด้ายจะค่อยๆ กลายเป็นสีเข้มในที่สุด นอกจากนี้สีอินดิโก้ที่ได้จากการย้อมวิธีนี้จะให้เฉดที่แตกต่างกัน (ผสมผสานด้วยด้ายสว่างและเข้ม ให้สีผ้าโดยรวมเป็นธรรมชาติและมีความซับซ้อนอย่างน่าสนใจ)

นี่คือตัวอย่างของการยีนส์ที่ทำจากอินดิโก้ย้อมมือPure Blue Japan AI-002 Natural Shoai Dyed Slim Straight.

เนื้อผ้าและสีที่ดูแพง มาพร้อมกับเฉดอินดิโก้ที่แตกต่าง และด้วยความมีเอกลักษณ์นี้เอง จึงทำให้ผ้ามี “แพทเทิร์นอย่างมีศิลปะ” โดยอัตโนมัติ


Fact no.4 “เฟดคอนทราสเกิดขึ้นได้เพราะการย้อมสีด้วยเครื่องจักร”

ที่จริงแล้วมีวิธีการย้อมอินดิโก้ด้วยเครื่องจักรหลากหลายวิธี โดยวิธีที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ การย้อมเชือก (Rope Dying) ซึ่งใช้กับทั้ง Indigo สังเคราะห์ (Pure Indigo) และ Indigo ธรรมชาติ โดยเครื่องจักรพิเศษจะจุ่มด้ายเพื่อย้อมและทิ้งไว้ให้แห้ง กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ ตามตัวอย่างที่คุณเห็นในภาพ

และเมื่อเราพูดถึงความคอนทราสจากการเฟด ก็คงจะขาดไม่ได้ที่จะพูดถึงแบรนด์ผู้ผลิตอย่าง Oni Denim โดยยีนส์ที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุดได้รับการผลิตจากเดนิม Natural Indigo ผ้ารุ่น Oni Kiraku series (ตามไปอ่านบล็อกเกี่ยวกับ Oni Kiraku ได้ที่นี่ here)

4 Oni Kiraku กับทรงและการให้สีบนแสงที่แตกต่างกัน

ผ้าชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ใส่สบายและเป็นเดนิมที่สวยลงตัวแบบสุดๆ เมื่อตอนแช่ยีนส์ คุณจะเห็นได้ทันทีว่าน้ำจะเปลี่ยนเป็น “สีไวน์เข้ม” อันเป็นสัญลักษณ์ทีบ่งบอกให้เรารู้ว่าผ้ายีนส์ชนิดนี้ได้รับการย้อมจาก Natural Indigo


ความจริงข้อที่ 5 “กางเกงยีนส์ Natural indigo ไม่ได้ราคาแพงเสมอไป”

ยีนส์ Natural indigo ผลิตยากและต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึงทำให้บางครั้งยีนส์เหล่านี้จะมีราคาสูง แต่เชื่อหรือไม่…ยีนส์ Natural indigo ราคาไม่แพงมีอยู่จริง

Burgus plus 850 $165 – ทางด้านขวาคือรุ่นที่มีอาร์คบนกระเป๋า

Above are low-rise jeans from Burgus Plus ยีนส์รุ่นที่สว่มใส่สบาย มาพร้อมกับทรงโมเดิร์น ขาค่อนข้างเล็ก ยีนส์น้ำหนัก 16 ออนซ์ และจากในภาพคุณจะได้เห็นเนื้อผ้าที่มาในรูปแบบของ “Grains” (มีเท็กซ์เจอร์คล้ายเมล็ดธัญพืช) ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เฟดไว และให้สีสวยแบบสุดๆ

เมื่อคุณใส่ยีนส์ไปสักพัก เนื้อผ้าจะเฟดอย่างมีเอกลักษณ์และสวยงาม

ยีนส์ Natural Indigo อีกรุ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ON850ST 15OZ Burgus Plus x Oni Denim เดนิมย้อมจากอินดิโก้ธรรมชาติ สมผ้ายีนส์ 2% ซึ่งเมื่อดูจากภายนอกแล้ว ไม่ต่างอะไรกับรุ่น 100% Cotton แต่อย่างใด ซึ่งผ้ายีนส์นี้ให้ความยืดหยุ่นและความสบายเมื่อคุณเคลื่อนไหว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานเป็นเวลานานๆ


สรุป

การผลิตเดนิมคือเรื่องที่ซัซ้อน และนั่นก็คือเหตุผลหลักที่ทำให้ยีนส์ญี่ปุ่นมีความพิเศษ เราเชื่อว่ามันคือเรื่องน่าสนุกสำหรับคนรักยีนส์ที่จะได้รู้เบื้องหลังการผลิตในทุกขั้นตอน ก่อนที่จะหยิบและซื้อยีนส์แต่ละตัว และไม่ว่าจะ Natural Indigo หรือ Pure Indigo ต่างก็ทำหน้าที่และให้ความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งหากคุณยังไม่เคยลองเป็นเจ้าของหนึ่งในยีนส์ทั้ง 2 แบบนี้ เราขอเชิญให้มีไว้ในครอบครอง ความแตกต่างและประสบการณ์น่าตื่นเต้นรอคุณอยู่ และแน่นอนว่าเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ข้อมูลที่คุณอยากรู้ ทักแชทเรามาได้บนหน้าเว็บไซต์ 😉

Think Blue. Think Denimio.