เมื่อไม่นานมานี้ คุณได้ทำความรู้จักกับ Denimio ผ่านสื่อฯ อย่าง Robin Denimในบทสัมภาษณ์แรกกับ Denimio และหลังจากที่คุณได้รู้ถึงข้อมูลเบื้องลึกเบื้องหลังของเราไปแล้ว ก็ถึงคราวที่ Denimio จะได้แชร์สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างใหกับคนรักยีนส์กันบ้าง ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของการให้สัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ‘Denimio ฟีเจอร์ริ่ง Robin Denim: ญี่ปุ่น ดินแดนแห่งคำสัญญา
คุณรู้มั้ยว่าทำไมยีนส์ญี่ปุ่นถึงฮิตไปทั่วโลก? แล้วทำไมญี่ปุ่นถึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคำสัญญา? แล้วอะไรทำให้ยีนส์ญี่ปุ่นโดดเด่น? ตามมาดูพร้อมๆ กัน
Q&A กับ Denimio – ตอน ญี่ปุ่น ดินแดนแห่งคำสัญญา
ในช่วงประมาณปี 1950s ที่ยีนส์วินเทจอเมริกันเริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ผู้คนเริ่มนำเข้าวินเทจเดนิมจากอเมริกา ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีถัดมา ศิลปินญี่ปุ่นก็เริ่มผลิตเดนิมด้วยตัวเอง และกลายเป็นมาสเตอร์ด้านการทอและย้อมเดนิมได้ในเวลาอันรวดเร็ว และปัจจุบันนี้ เพียงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกเดนิม และได้รับการเรียกขานว่าเป็นดินแดนแห่งคำสัญญา
Denimio หนึ่งในเว็บสโตร์เดนิมชั้นนำที่ถือแบรนด์กางเกงยีนส์อยู่หลายแบรนด์ ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังสโตร์แห่งนี้ คือมิตรที่มอบความสัมพันธ์ที่ดีให้กับเรามาโดยตลอด และเมื่อสัปดาห์ก่อนเราก็ได้สัมภาษณ์เขาเกี่ยวกับเรื่องขององค์กร วิสัยทัศน์ และแบรนด์ที่สโตร์แห่งนี้ถืออยู่ ซึ่งหากคุณไม่ได้ติดตามบทสัมภาษณ์แรก ก็สามารถคลิกลิงค์นี้เพื่ออ่านย้อนหลังได้
และในวันนี้ เพื่อให้มีความต่อเนื่องกับบทสัมภาษณ์แรก เราจะพูดถึงเรื่องของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคำสัญญาของเดนิม การพูดคุยครั้งนี้เราได้รับแนวคิดดีๆ จากผู้ที่อยู่เบื้องหลัง Denimio มาคุยและเจาะลึกถึงคาแร็กเตอร์ของยีนส์ญี่ปุ่น ความแตกต่างระหว่างตลาดแต่ละแห่ง ฯลฯ และเราหวังว่าคุณจะสนุกกับบทสนทนาที่เรากำลังจะแชร์ต่อไปนี้
Robin Denim: ในยุโรปและอเมริกา พอพูดถึงเดนิม ผู้คนส่วนใหญ่มองญี่ปุ่นในฐานะดินแดงแห่งคำสัญญา คุณคิดว่าเดนิมส่งผลและสะท้อนวัฒนธรรมญี่ปุ่นยังไง?
Denimio: ความถูกต้อง, ความสบาย และความเป็นมืออาชีพ รวมไปถึงความภูมิใจที่ให้น้ำหนักเรื่องผลประโยชน์น้อยกว่าอย่างอื่น ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นคาแร็กเตอร์ของงานฝีมือญี่ปุ่น และวงการยีนส์ญี่ปุ่นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมของเราเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ไม่ว่าจะเป็นช่างฝีมือในระดับมือสมัครเล่นจนถึงมาสเตอร์ ก็ต้องมีแนวคิดที่หนักแน่นอย่างไม่มีข้อยกเว้น.
Robin Denim: ในความคิดของคุณ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์และคำร่ำลือที่ว่า “ญี่ปุ่นของสวรรค์ของคนรักยีนส์”?
Denimio: เพราะนั่นคือความจริงอย่างที่สุด ในแบบที่หาที่อื่นเทียบไม่ได้ แม้แต่ในที่ๆ เดนิมถือกำเนิดขึ้นอย่างอเมริกา
สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนวงการเดนิมในญี่ปุ่นคือความพยายามในการผลิตสินค้าคุณภาพสูง ที่ต้องคุณภาพดีอย่างไม่มีข้อยกเว้นหรือการยืดหยุ่น ซึ่งตามเหตุผลทางธุรกิจแล้ว คุณก็คงอยากได้ใช้เครื่องจักรใหม่ๆ ที่ผลิตเสื้อผ้าได้รวดเร็ว มากกว่าการมาทนนั่งดูเครื่องจักรเก่าๆ ที่หมุนช้า แต่โรงงานในญี่ปุ่นไม่ได้เป็นแบบนั้น สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นให้คุณค่า เราเรียกมันว่า “Mottainai” ซึงหมายถึง ความรู้สึกตระหนักและเสียใจกับการสิ้นเปลือง ผสมผสานกับ “ยาโอโรซุ โน คามิ” ที่หมายถึงเทพเจ้าแปดเซียน อันเป็นที่นับถือของคนญี่ปุ่น เรารู้สึกผิดที่ทำให้เกิดการสิ้นเปลือง หรือทิ้งสิ่งที่ยังใช้งานได้ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงยังคงใช้ของเก่าๆ และมีการทดลองกับเครื่องจักรวินเทจที่เป็นตัวต้นแบบอยู่ตลอด โดยผลลัพธ์ที่ได้คืองานที่ดีกว่าที่อื่นๆ
Robin Denim: อะไรคือคาแร็กเตอร์ที่เด่นที่สุดของยีนส์ญี่ปุ่น? แล้วเหตุผลคืออะไร?
Denimio: ความหยาบและความไม่เรียบ คือคาแร็กเตอร์ที่โดดเด่นที่สุด ซึ่งเนื้อผ้าที่ไม่เรียบจะสร้างรอยเฟดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเครื่องจักรเก่าก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักที่ทำให้เนื้อผ้ามีคาแร็กเตอร์ นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้เรื่องความไม่สม่ำเสมอของการผลิตในแต่ละล็อต ทำให้ผ้ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย เป็นเสน่ห์ของงาน ผมเองเป็นคนที่ชอบเปรียบเทียบงานญี่ปุ่นกับไวน์ดีๆ ที่ให้สัมผัสประทับใจกับคนดื่ม ทุกอย่างมันเกี่ยวกับความแตกต่างแลการพัฒนาในกรอบของความเรียบง่าย ซึ่งความแตกต่างอาจจะมีไม่มากนัก แต่สำหรับคนรักยีนส์หรือคนที่รักการแต่งตัว คอนเฟิร์มได้เลยว่าพวกเขาจะต้องเห็นถึงความไม่เหมือนกันของยีนส์แต่ละรุ่นอย่างแน่นอน
Robin Denim: อะไรคือความแตกต่างระหว่างตลาดเดนิมในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ?
Denimio: ลูกค้าญี่ปุ่นอายุมากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้วจะแก่กว่าลูกค้าในกลุ่มต่างประเทศ ซึ่งลูกค้าญี่ปุ่นจะชื่นชอบ “สินค้าวินเทจอเมริกันสไตล์” ตลาดเมืองนอกจะหลากหลายและให้น้ำหนักในเรื่องของความล้ำค่าตามกาลเวลาที่ต่างกันออกไป ทุกๆ พื้นที่ต่างมีแนวของตลาดที่ไม่เหมือนกัน และมีเทรนด์เล็กๆ ที่ฮิตกันภายในประเทศอยู่มากมาย
Robin Denim: อะไรคือเทรนด์ในตลาดเดนิมญี่ปุ่น? (ทรง, ผ้า, สไตล์) แล้วแตกต่างกันกับตลาดยุโรปและอเมริกามั้ย?
Denimio: ONI เริ่มจากสไตล์ “รีแลกซ์เทเปอร์” ที่หลายๆ แบรนด์ต่างก็วิ่งตามเทรนด์ถึงขนาดใช้คำนี้เป็นชื่อคัตติ้ง ซึ่งนี่ก็เป็นเทรนด์ที่โตในตลาดโลก รวมถึงในญี่ปุ่นเองด้วย แต่ลูกค้าเก่าบางรายยังคงชอบทรงตรงแบบคลาสสิค พูดถึงONI แบรนด์ก็เป็นผู้เริ่มต้นเทรนด์ “Slubby Denim” และทำให้เกิดพายุในวงการ อีกหนึ่งเทรนด์ที่เราอยู่เป็นพยาน คือเมื่อแบรนด์มีการผสมผสานอินดิโก้เข้ากับสีดำ และกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้ ผ้า ONI AIZUMI ซึ่งที่ผ่านมาทุกร้านในโลกขาดหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง
อีกหนึ่งเทรนด์ที่เรากำลังดูความเคลื่อนไหว และต้องการผลักดันให้ได้รับความนิยมในตลาดและผลักดันให้แบรนด์เพิ่มการพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น คือยีนส์ดิบผ้ายืด เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพทั้งในด้านความสบายและเข้าเทรนด์ (ยกตัวอย่างเช่น ทรงเทเปอร์หรือสกินนีหนักๆ ) ความท้าทายสำหรับผู้ผลิตเดนิมในด้านนี้ก็คือ คาแร็กเตอร์ของผ้าและสไตล์ที่ลูกค้าคุ้นเคยที่ฝังลึก อย่างไรก็ตาม ความพยายามด้านนี้ก็กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ เราเห็นหลายๆ แบรนด์ที่ถืออยู่ เริ่มผลิตผ้าที่มีเท็กซ์เจอร์ลักษณะนี้ออกมาแล้ว
(ONI, Pure Blue Japan, Tanuki และ Japan Blue) การก้าวเข้าสู่วิธีนี้ได้รับการยอมรับจากแบรนด์เพราะพวกเขาเชื่อในการพัฒนาของตัวเอง ผ้าที่พวกเขาทำออกมาใหม่นั้นมีความเหมือนกับผ้าตัวเก่าจนแทบแยกไม่ออก และอีกหนึ่งความน่าทึ่งที่ต้องบันทึกไว้เกี่ยวกับผ้ายืดก็คือ แบรนด์เหล่านี้ไม่ได้ผลิตผ้าออกมาให้มีคุณภาพการเฟดเหมือนกับผ้ายืดทั่วไป แต่พวกเขาพัฒนาความหยาบและความขรุขระของผ้าให้ออกมาในรูปแบบของผ้ายืด ให้มีกระบวนการการเฟดเหมือนกับผ้าดิบรุ่นปกติ ซึ่งผมคิดว่าความแตกต่างหลักๆ ระหว่างผ้า 2 แบบนี้คือ การคงสเต็ปการเฟดของอินดิโก้ เพราะผ้ายืดนั้นจะไม่ทิ้งรอยเฟดไว้มากเท่ากับยีนส์ดิบปกติ ดังนั้นถ้าผ้ายืดเฟด จะเฟดออกหมดทั้งตัวโดยไม่มีรอยยับ และมีคอนทราสน้อยกว่า ซึ่งหลายคนอาจจะมองในแง่ลบ (หลักๆ ก็คนเล่นยีนส์หนักๆ ที่วิ่งหาแต่ผ้าที่ให้ความคอนทราสสูง) แต่สำหรับกลุ่มอื่นๆ แล้ว ฟีเจอร์นี้เป็นที่ยอมรับได้ เพราะลุคของยีนส์นั้นมีความสะอาดเรียบร้อย โดยทางเรานั้นค่อนข้างอยากจะผลักดันต่อเพื่อให้เทรนด์นี้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งก็ไม่ใช่เพียงแค่ข้ามคืน แต่ต้องเป็นข้ามปี